วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

กวิน ธรรมสัจจานันท์

กวิน ธรรมสัจจานันท์


กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ (ชื่อเล่น: ตอง; เกิด 26 มกราคม พ.ศ. 2533 กรุงเทพมหานคร) เป็นผู้รักษาประตูทีมชาติไทย ปัจจุบันลงเล่นตำแหน่งผู้รักษาประตูให้กับสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด การศึกษา จบปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ เอแบค
กวินทร์ ได้มาร่วมทีมกับเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งปีนั้น เมืองทอง ยูไนเต็ดได้เลื่อนชั้นมาเล่นในไทยพรีเมียร์ลีก กวินทร์สามารถแสดงทักษะจนได้เป็นแชมป์ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกครั้งแรกของสโมสร กวินทร์สามารถเล่นตำแหน่งผู้รักษาประตูได้ดีกับสโมสร ทำให้ได้เล่นเป็นผู้รักษาประตูอย่างเต็มตัว แฟนฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ด ได้ตั้งฉายาให้ว่า "เทพกวินทร์ บินได้"
พ.ศ. 2556 ได้เปลี่ยนชื่อจาก "กวิน" มาเป็น "กวินทร์" จากคำแนะนำของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ภายหลังจากประสบเคราะห์ได้รับบาดเจ็บอยู่บ่อยครั้ง
ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งจาก เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง หัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย ให้เป็นกัปตันทีมชุดเอเชียนเกมส์ 2014 ที่เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงเป็นผู้ถือธงชาติไทยนำหน้าคณะนักกีฬาไทยในพิธีเปิดเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ด้วย และยาวไปถึงปลายปีเดียวกัน โดยเป็นกัปตันทีมชุดใหญ่ที่คว้าแชมป์ เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 แทนที่ อดุล หละโสะ ที่บาดเจ็บที่หัวเข่า

สโมสร

ราชประชา
  • ถ้วย ข. : พ.ศ. 2550
เมืองทอง ยูไนเต็ด
  • ไทยพรีเมียร์ลีก (4) : 2552, 2553, 2555 2559
  • ถ้วย ก. (1) : 2553
  • ไทยลีกคัพ (1) : 2559
  • ไทยลีกดิวิชั่น 1 (1) : 2551

ทีมชาติไทย

  • เอเชียนเกมส์ 2014 : อันดับ 4
  • เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 : ชนะเลิศ
  • เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2016 : ชนะเลิศ

มาชมวิดีโอการเล่นของ กวิน ธรรมสัจจานันท์


เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง

 เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง


ร้อยตำรวจโท เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ชื่อเล่น โก้ เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย ในตำแหน่งกองหน้า ปัจจุบันเป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนฟุตบอลทีมชาติไทย มีชื่อเล่นที่สื่อมวลชนสายกีฬาตั้งให้ว่า ซิโก้ ตามชื่อของนักฟุตบอลชาวบราซิลที่มีชื่อเสียง อันมีที่มาจากชื่อเล่นของเขาเอง

      ประวัติ

ซิโก้เกิดเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2516 ที่อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เป็นบุตรคนสุดท้องจากทั้งหมดสามคน ของสุริยา (บิดา) และริสม (มารดา)มีพี่สาวสองคนแต่ภายหลังราวปี พ.ศ. 2525 เขาตามบิดามารดาย้ายกลับไปภูมิลำเนาเดิมที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ซิโก้เริ่มศึกษาที่โรงเรียนบ้านหนองแดง อำเภอกุมภวาปี จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นจึงย้ายมาศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนน้ำพองศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 6 จึงย้ายเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร ในระดับอนุปริญญา สาขาการบัญชี ที่โรงเรียนพาณิชยการกรุงเทพ และจบการศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ จากมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และจบการศึกษาระดับปริญญาโท หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการกีฬา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
ชีวิตส่วนตัว ซิโก้สมรสกับอัสราภา (สกุลเดิม: วุฒิเวทย์) เมื่อปี พ.ศ. 2545 มีบุตรสาวทั้งหมด 3 คน คือ อธิชา, มุกตาภา และกฤตยา

      ผู้เล่น

ซิโก้เริ่มแข่งขันฟุตบอลระดับประเทศครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2533 โดยติดทีมชาติไทยชุดเยาวชน ไปแข่งขันที่ประเทศมาเลเซีย และต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ก็ขึ้นไปติดทีมชาติไทยชุดใหญ่ครั้งแรก ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 24 และตามด้วยการแข่งขันฟุตบอลเมอร์ไลออนคัพ ที่ประเทศสิงคโปร์ เขายิงประตูแรกได้ ขณะเล่นร่วมกับ ทีมชาติไทยชุดบี เมื่อวันที่ 9 กันยายน ซึ่งทำให้ชนะทีมชาติโปแลนด์ 1 ประตูต่อ 0 และประตูสุดท้าย ในทีมชาติไทยชุดใหญ่ โดยเป็นประตูที่ 100 ของเขากับทีมชาติไทย (หากนับเฉพาะนัดที่พบกับทีมชาติ จะอยู่ที่ 85 ประตู) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ขณะแข่งขันคิงส์คัพครั้งที่ 37 ซึ่งชนะสิงคโปร์ 2 ประตูต่อ 0
นอกจากนี้ ซิโก้ยังอยู่ในทีมชาติไทย ชุดที่ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอล ในกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 17, 18 และ 19 และชุดที่เป็นอันดับ 4 การแข่งขันฟุตบอล ในกีฬาเอเชียนเกมส์สองสมัยติดต่อกันคือ ครั้งที่ 13 ประจำปี พ.ศ. 2541 ซึ่งซิโก้ยิงประตูขึ้นนำทีมชาติเกาหลีใต้ ก่อนที่ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล จะทำประตูโกลเดนโกลให้ทีมชาติไทยผ่านเข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย และครั้งที่ 14 ประจำปี พ.ศ. 2545 และสามารถทำแฮตทริก ขณะเล่นให้ทีมชาติไทยมาแล้ว 4 ครั้งคือ ฟุตบอลชายซีเกมส์ครั้งที่ 20 นัดทีมชาติไทยชนะฟิลิปปินส์ 9 ประตูต่อ 0 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2542, นัดกระชับมิตร ทีมชาติไทยชนะทีมชาติคูเวต 5 ประตูต่อ 4 เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2544, ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย ทีมชาติไทยชนะปากีสถาน 6 ประตูต่อ 0 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 และ ไทเกอร์คัพ 2002 รอบแบ่งกลุ่มนัดแรก (กลุ่มบี) ทีมชาติไทยชนะทีมชาติลาว 5 ประตูต่อ 0 เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2545
อนึ่ง สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) บันทึกว่าซิโก้เป็นผู้ทำประตูสูงสุด ให้แก่ทีมชาติไทยชุดใหญ่ ที่ 71 ประตู จากการลงเล่น 134 นัด ในการแข่งขันอย่างเป็นทางการที่รับรองโดยฟีฟ่า โดยนัดสุดท้ายที่ซิโก้ลงเล่นกับทีมชาติไทยชุดใหญ่คือนัดกระชับมิตรที่พบกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2550 โดยเสมอกันที่ 1-1 ทั้งนี้ เมื่อซิโก้สามารถยิงประตูได้ จะแสดงความดีใจด้วยการกระโดดตีลังกา กระทั่งสื่อมวลชนสายกีฬา ตั้งฉายาให้ว่าเป็น จอมตีลังกา
ซิโก้มีชื่อติดอันดับที่ 10 ของนักเตะที่ยิงประตูสูงสุดในนามทีมชาติ โดยในระหว่างปี 2535-2550 ซิโก้ติดทีมชาติ 131 นัด ยิง 70 ประตู ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยโดย "เดอะ มิเรอร์" สื่อชั้นนำของประเทศอังกฤษ

ผลงาน

ทีมชาติไทย

  • 2536 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 17 ประเทศสิงคโปร์
  • 2537 ชนะเลิศ คิงส์คัพ ครั้งที่ 25
  • 2537 ชนะเลิศ อินดิเพนเดนต์คัพ ครั้งที่ 7 ประเทศอินโดนีเซีย
  • 2538 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 18 ประเทศไทย
  • 2539 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 1 ประเทศสิงคโปร์
  • 2540 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 19 ประเทศอินโดนีเซีย
  • 2541 อันดับที่ 4 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 ประเทศไทย
  • 2542 ชนะเลิศ ซีเกมส์ครั้งที่ 20 ประเทศบรูไน
  • 2543 ชนะเลิศ คิงส์คัพ ครั้งที่ 31
  • 2543 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 3 ประเทศไทย
  • 2544 รอบ 10 ทีมสุดท้าย ฟุตบอลโลก 2002 รอบคัดเลือกโซนเอเชีย
  • 2545 อันดับที่ 4 เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 14 ประเทศเกาหลีใต้
  • 2545 ชนะเลิศ ไทเกอร์คัพครั้งที่ 4 ประเทศสิงคโปร์/อินโดนีเซีย

สโมสร

  • 2532 ชนะเลิศ ถ้วย ก (ธนาคารกรุงไทย)
  • 2536 ชนะเลิศ ถ้วย ข (ธนาคารกรุงไทย)
  • 2541 ชนะเลิศ กีฬากองทัพไทย (ตำรวจ)
  • 2542 รองชนะเลิศ มาเลเซียซูเปอร์ลีก (ปะลิส)
  • 2543 รองชนะเลิศ ดิวิชั่น 1 อังกฤษ (ฮัดเดอส์ฟีลด์ทาวน์)
  • 2545 ชนะเลิศ เอส.ลีก (สิงคโปร์ อาร์มฟอร์ซ)
  • 2546 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย)
  • 2546 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย)
  • 2547 ชนะเลิศ วี-ลีก (ฮหว่างอัญซาลาย)
  • 2547 ชนะเลิศ เวียดนามซูเปอร์คัพ (ฮหว่างอัญซาลาย)

ธีราทร บุญมาทัน


ธีราทร บุญมาทัน


ธีราทร บุญมาทัน ชื่อเล่น อุ้ม (6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 — ) เป็นนักฟุตบอลอาชีพชาวไทย ตำแหน่งแบ็กซ้าย เกิดที่จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันสังกัดสโมสรฟุตบอลเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ในไทยพรีเมียร์ลีก
ธีราทรเป็นผู้เล่นในตำแหน่งแบ็คซ้ายที่ถูกยกย่องว่าดีที่สุดในไทยเวลานี้ โดยราวกลางเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จากการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือก 2014 โซนเอเชีย ระหว่างทีมชาติไทยกับทีมชาติซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเขาได้รับใบแดงให้ออกจากสนามและในไม่กี่วัน ในการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 26 ระหว่างทีมชาติไทย พบกับทีมชาติอินโดนีเซีย ธีราทรซึ่งถูกเรียกเข้าติดทีมชุดซีเกมส์ หลังตกรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก ก็ได้รับใบแดงอีกครั้ง
หลังจากนั้นในวันที่ 1 ธันวาคม ปีเดียวกัน ธีราทรซึ่งลงเล่นให้บุรีรัมย์ในไทยลีก ใช้เท้าเหยียบเข้าที่ท้องของคู่แข่ง ระหว่างพบกับสโมสรฟุตบอลโอสถสภา เอ็ม–150 สระบุรี ต่อมาเมื่อวันที่ 9-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ธีราทรเข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี เพื่อตอบแทนบุญคุณบิดามารดา รวมทั้งเพื่อสงบจิตใจจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันเขาได้รับเลือกจากเกียรติศักดิ์ เสนาเมืองให้เป็นกัปตันทีมชาติชุดใหญ่เมื่อนัดเจอกับไต้หวัน และในขณะนี้เขาเป็นที่โด่งดังในระดับเอเชียว่าเป็น 'อีซ้ายมหัศจรรย์'
วันที่ 11 พฤษภาคม 2559 แฟนเพจอย่างเป็นทางการของสโมสรฟุตบอล บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด เปิดเผยแถลงข่าวการขาย ธีราทร บุญมาทัน ให้กับทีมร่วมลีกอย่าง เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอซื้อจากหลายทีม ซึ่งเขาจะสามารถเริ่มประเดิมลงสนามให้กับต้นสังกัดใหม่ได้ในช่วงเลกที่สองของฟุตบอลไทยลีก 2559

   ข้อมูลส่วนบุคคล

ชื่อเต็ม ธีราทร บุญมาทัน

วันเกิด 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 (27 ปี)
สถานที่เกิด นนทบุรี ประเทศไทย
ตำแหน่ง แบ็กซ้าย
ส่วนสูง 1.72 เมตร (5 ฟุต 7.7 นิ้ว)

               ข้อมูลสโมสร

สโมสรปัจจุบัน เมืองทอง ยูไนเต็ด
หมายเลข 3

              สโมสรเยาวชน

2005–2007 โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี

               สโมสรอาชีพ

ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2008 ราชประชา 10 (0) 2009–2016 บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด 189 (15) 2016 เมืองทอง ยูไนเต็ด 1 (1)

                   ทีมชาติ

2009–2013 ไทย ยู-23 15 (1) 2010– ไทย 29 (5)

มาชมวิดีโอการเล่นของ ธีราทร บุญมาทัน



ธีรศิลป์ แดงดา

ธีรศิลป์ แดงดา


ธีรศิลป์ แดงดา ชื่อเล่น มุ้ย เกิดวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2531 เป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทย ปัจจุบันเล่นให้กับเมืองทอง ยูไนเต็ด ในไทยพรีเมียร์ลีก ในตำแหน่งกองหน้า

ประวัติ

    ธีรศิลป์ แดงดา เกิดที่กรุงเทพมหานคร มีบิดาชื่อ พ.อ.อ.ประสิทธิ์ แดงดา กับมารดาชื่อกาญจนา ซึ่งเป็นชาวจังหวัดสุรินทร์ และธีรศิลป์มีน้องสาวหนึ่งคนชื่อธนีกาญจน์ แดงดา ซึ่งเป็นนักกีฬาฟุตบอลหญิงทีมชาติไทย ทั้งนี้ ธีรศิลป์สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โดยเขาได้เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลเยาวชนของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีด้วย ซึ่งได้รับคำชมจากเพื่อนร่วมรุ่นและผู้ฝึกสอนของโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีว่าเป็นนักฟุตบอลที่เก่งและสามารถเคลื่อนไหวไปกับลูกบอลได้อย่างรวดเร็ว

ชีวิตส่วนตัว

    "เจ้ามุ้ย" ธีรศิลป์ แดงดา ได้แต่งงานกับ  "บีบี" ภูษิตา พลรักษ์ และได้มีลูกชายชื่อน้อง มาดริค



ฟุตบอลสโมสร

จ่าอากาศและราชประชา


ธีรศิลป์ แดงดา เริ่มเล่นฟุตบอลกับสโมสรฟุตบอลโรงเรียนจ่าอากาศ ใน ไทยลีกดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 2547/48 ในช่วงวัยแค่ 17 ปี ซึ่งเขาไม่ค่อยมีโอกาสลงเล่นมากนัก แต่ก็สามารถทำประตูได้ 3 ประตูจากการลงเล่นแค่ 6 นัด ซึ่งในขณะนั้นยังเล่นในตำแหน่ง กองกลางตัวรุก
ปีพ.ศ. 2549 ธีรศิลป์ย้ายไปเล่นให้กับราชประชา เอฟซี ในฟุตบอลถ้วยพระราชทานประเภท ข และตกรอบแบ่งกลุ่ม โดยธีรศิลป์ได้ลงเล่นในตำแหน่งกองหน้ามากขึ้น และสามารถทำประตูได้ถึง 9 ประตู จากการลงเล่น 18 นัด รวมทั้งจ่ายให้เพื่อนทำประตูถึง 5 ครั้ง
ฤดูกาล 2550 ธีรศิลป์ ถูกยืมตัวมาเล่นให้กับโรงเรียนจ่าอากาศอีกครั้งในช่วงครึ่งฤดูกาลแรก

เมืองทองยูไนเต็ด 

จากนั้นช่วงครึ่งฤดูกาล (เลก 2) ธีรศิลป์ได้ย้ายลงมาเล่นให้สโมสรเมืองทองฯ ยูไนเต็ดในไทยลีกดิวิชั่น 2 ปี พ.ศ. 2550และเป็นนักฟุตบอลที่มีส่วนในการนำเมืองทองเป็นแชมป์ไทยลีกดิวิชั่น 2 ซึ่งผู้จัดการทีมของเมืองทองในขณะนั้นคือ โรเบิร์ต โปรคูเรอร์ ได้กล่าวเอ่ยชมว่า "ธีรศิลป์เริ่มมีทักษะและการเล่นที่ดีมากขึ้นจนมีหลายทีมทั้งในประเทศและนอกประเทศสนใจอยากได้ธีรศิลป์ได้ร่วมทีม ซึ่งตัวผมและสตาฟโค้ชทุกคนยังเชื่อมั่นได้เลยว่าเด็กคนนี้มีอนาคตที่สดใสแน่นอน" ซึ่งในฤดูกาลนี้ธีรศิลป์ได้ลงเล่น 15 นัด ทำประตูได้ 7 ประตู จ่ายให้เพื่อนทำประตูได้ 2 ครั้ง

อัลเมรีอา

ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 สโมสรอูเด อัลเมรีอา ในลาลีกาของสเปน ได้ยืมตัวธีรศิลป์ไปเล่นในฤดูกาล 2557-2558 เป็นเวลา 1 ฤดูกาล ภายใต้การคุมทีมของฟรันซิสโก คาเบียร์ โรดรีเกซ บิลเชซ กุนซือชาวสเปน พร้อมเงื่อนไขในการซื้อขาดหากทำผลงานได้ดี โดยธีรศิลป์จะได้สวมเสื้อหมายเลข 18 ลงเล่นให้กับอัลเมรีอา ในวันที่ 17 กรกฎาคม 2557 ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการกับสโมสรที่สภาว่าการเมืองอัลเมรีอา แคว้นอันดาลูซีอา ประเทศสเปน
วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ธีรศิลป์สร้างประวัติศาสตร์โดยการเป็นนักเตะชาวไทยคนแรกที่ได้ลงเล่นในลาลีกา เมื่อถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทนเฟร์นันโด โซเรียโน มาร์โกในเกมลาลีกาที่อัลเมรีอาเปิดบ้านเสมออัสปัญญอล 1-1 ที่เอสตาดีโอเดโลสคูเอโกสเมดีเตร์ราเนโอส
ในลาลีกา ธีรศิลป์ไม่ค่อยได้รับโอกาสลงเล่นมากนัก โดยต้องตกเป็นตัวสำรองของโตเมร์ เฮเมด กองหน้าทีมชาติอิสราเอล และมักจะถูกส่งลงมาเล่นในช่วงท้ายเกม
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ธีรศิลป์ถูกส่งลงสนามในฐานะตัวจริงเป็นนัดแรก ในการแข่งขันฟุตบอลชิงถ้วยโกปาเดลเรย์ รอบ 32 ทีมสุดท้าย นัดแรก โดยอัลเมรีอาต้องออกไปเยือนเรอัลเบติสที่สนามเบนีโต บียามาริน ซึ่งเกมส์นี้ถือเป็นดาร์บีแมตช์ของแคว้นอันดาลูซีอาอีกด้วย
การลงเล่นเป็นตัวจริงนัดแรกของธีรศิลป์ เขาสามารถยิงประตูแรกให้ต้นสังกัดได้สำเร็จ เมื่ออีบัน ซานเชซจ่ายบอลมาให้เขาหลุดเดี่ยวเข้าไปยิงประตูผ่านดานี คีเมเนซ ผู้รักษาประตูของเรอัลเบติส เข้าไปให้ทีมบุกมานำ 0 - 2 ก่อนจะจบลงด้วยชัยชนะ 3 - 4
ในต้นปี พ.ศ. 2558 ธีรศิลป์ได้ยกเลิกสัญญากับอัลเมรีอา ทำให้ไม่ครบระยะเวลาสัญญา 1 ปี โดยจะกลับไปเล่นให้กับเมืองทอง ยูไนเต็ด ต้นสังกัดเดิมต่อไป โดยให้เหตุผลว่าไม่สามารถปรับตัวได้ โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสารหรือเรื่องภาษา ทำให้ธีรศิลป์ลงเล่นในลาลีกา 6 นัด ยิงไม่ได้เลยแม้แต่ประตูเดียว และในรายการโกปาเดลเรย์ ได้ลง 4 นัด ยิงได้ 1 ประตู

มาชมวิดีโอการเล่นของ ธีรศิลป์ แดงดา


ชนาธิป สรงกระสินธ์


ชนาธิป สรงกระสินธ์



สิบตำรวจตรี ชนาธิป สรงกระสินธ์ ชื่อเล่น เจ หรือเป็นที่รู้จักในฉายา เมสซี่เจ เกิดวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2536 เป็นนักฟุตบอลชาวไทยของเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด
ชนาธิปเป็นนักเตะที่อายุน้อยที่สุดของ ทีมชาติไทย ที่ วินเฟรด เชเฟอร์ เรียกตัวเข้าไปในการแข่งขัน เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 โดยได้ตำแหน่งรองแชมป์ และเป็นหนึ่งในผู้เล่น ทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี ที่ได้เหรียญทองในซีเกมส์ 2013 ที่ ประเทศพม่า รวมถึงได้อันดับ 4 การแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2014 ที่ประเทศเกาหลีใต้ และเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทยชุดคว้าแชมป์เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014

ประวัติ

ชนาธิป สรงกระสินธ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2536 ที่ตลาดสามพราน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรชายของนายก้องภพและนางพรสวรรค์ สรงกระสินธ์ โดยบิดาเป็นผู้สอนให้เล่นฟุตบอลตั้งแต่อายุได้ 4 ขวบ และเริ่มต้นเล่นฟุตบอลอย่างจริงจังในขณะศึกษาอยู่ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่โรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จากนั้นได้ย้ายมาศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่โรงเรียนเพ็ญสมิทธิ์จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
หลังจบชั้นประถมศึกษา ชนาธิปกลับจังหวัดนครปฐมเพื่อศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนสามพรานวิทยา ในช่วงนี้เขาได้เล่นฟุตบอลเดินสายกับทีม ซีแอล ไฮสปีด ซึ่งเป็นทีมฟุตบอลเดินสายชื่อดังในจังหวัดนครปฐม ร่วมกับรัชพล นาวันโน ที่ภายหลังกลายเป็นนักฟุตบอลทีมชาติไทยอีกคนหนึ่ง
หลังจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชนาธิปได้ศึกษาต่อในสาขาวิชาการตลาด ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีพาณิชยการราชดำเนิน และเล่นฟุตบอลในระดับนักเรียนให้กับสถาบันไปด้วย โดยช่วยให้พาณิชยการราชดำเนินคว้าแชมป์ฟุตบอลนักเรียนกรมพลศึกษารุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ประเภท ก. ได้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2554
ในอดีต ชนาธิป สรงกระสินธ์ ได้เคยศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่เมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 เขาได้ทำเรื่องย้ายคณะและไปศึกษาต่อที่ คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และรับราชการตำรวจ

      ชีวิตส่วนตัว

ชนาธิป คบหาดูใจกับ ดาราสาวรุ่นพี่ พิชญ์นาฏ สาขากร


      ทีมชาติ

ชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี
ชนาธิปลงเล่นในระดับชาติให้กับทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก ในรายการฟุตบอลเยาวชนอายุ 19 ปีชิงแชมป์เอเชีย 2012 ในรอบคัดเลือกที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ภายใต้การคุมทีมของสมชาย ชวยบุญชุม โดยรอบคัดเลือกไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอี ร่วมกับทีมเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปีของเกาหลีใต้, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน และ กวม
ชนาธิป ลงสนามในนัดแรกของการแข่งขันรอบคัดเลือก วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ในเกมส์ที่ทีมชาติไทยชนะเกาหลีใต้ 1-0 ที่สนามเทพหัสดิน โดยถือเป็นการลงเล่นให้ทีมชาติไทยในระดับเยาวชนเป็นครั้งแรกของเจ้าตัวด้วย และมายิงได้ 1 ประตู ในเกมส์ถล่มทีมชาติทีมชาติกวม 13-0 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 โดยการแข่งขันในรอบคัดเลือก ชนาธิป สรงกระสินธ์ ทำผลงานกับทีมชาติไทยชุดอายุ 20 ปี ได้อย่างยอดเยี่ยมสามารถคว้าแชมป์กลุ่มได้สำเร็จ ด้วยการชนะทีมชาติเกาหลีใต้ 1-0, ชนะไต้หวัน 1-0, ชนะกวม 13-0 และเสมอญี่ปุ่น 0-0 ได้เข้าไปเล่นในรอบสุดท้ายในฐานะแชมป์กลุ่ม
โดยในการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนอายุ 19 ปีชิงแชมป์เอเชียรอบสุดท้ายที่ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ไทยอยู่ในกลุ่ม บี ร่วมกับเกาหลีใต้, จีน และอิรัก ซึ่งการแข่งขันทั้ง 3 นัด จะแข่งที่สนามกีฬาฟูไจราห์ คลับ เมืองฟูไจราห์ โดยไทยลงแข่งขันนัดแรกกับทีมชาติจีน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ชนาธิป สามารถผ่านบอลให้ วรนาถ ทองเครือ เข้าไปยิงประตูได้ และช่วยให้ทีมชาติไทยเอาชนะจีนไปได้ 2-1 ต่อมาในการแข่งขันกับทีมชาติเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน ไทยกลับแพ้ไป 1-2 และการแข่งขันนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่มเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ไทยแพ้อิรักไป 0-3 ตกรอบไปในที่สุด
ชุดเยาวชนอายุไม่เกิน 23 ปี
เดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 ซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง ได้เรียกชนาธิปที่ขณะนั้นเคยเล่นให้ทีมชาติชุดใหญ่มาแล้วในยุคของวินฟรีด เชเฟอร์ มาเป็นหนึ่งในผู้เล่นทีมชาติไทยชุดอายุไม่เกิน 23 ปี ในแข่งขันซีเกมส์ 2013 ที่กรุงเนปยีดอประเทศพม่า
โดยชนาธิป ลงเล่นในซีเกมส์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ในการแข่งขันนัดแรกของรอบแบ่งกลุ่มที่ทีมชาติไทย เอาชนะ ทีมชาติติมอร์-เลสเต ไป 3-1 โดยถูกเปลี่ยนตัวลงมาแทน ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ในช่วง 25 นาทีสุดท้าย ซึ่งในการแข่งขันซีเกมส์ 2013 นี้ ชนาธิป รับบทบาทเป็นผู้เล่นตัวสำรองที่มักจะถูกส่งลงสนามเพื่อสร้างสรรค์เกมส์รุกในช่วงครึ่งหลังอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งสามารถทำผลงานได้อย่างดี โดยได้เล่นเป็นตัวจริง 1 นัด ในเกมส์ที่เสมอกับทีมชาติกัมพูชา 0-0 และสามารถช่วยให้ทีมชาติไทยผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศได้สำเร็จ
ในนัดชิงชนะเลิศ ชนาธิป สรงกระสินธ์ ต้องพลาดโอกาสในการลงแข่งกับทีมชาติอินโดนีเซีย เนื่องจากได้รับบาดเจ็บบริเวณหน้าแข้ง แต่ทีมชาติไทยก็เอาชนะไปได้ 1-0 คว้าเหรียญทองไปครองได้สำเร็จ

ทีมชาติชุดใหญ่


ชนาธิป ได้ลงสนามให้ทีมชาติไทยชุดใหญ่เป็นครั้งแรกในการแข่งขันนัดอุ่นเครื่องกับทีมชาติภูฏาน เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่สนามไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
 โดยถูกเปลี่ยนตัวลงมาในครึ่งหลังและทำให้ทีมชาติไทยชนะไป 5-0
จากนั้น วินฟรีด เชเฟอร์ ได้คัดเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้เล่นชุดเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2012 โดยชนาธิปเป็นผู้เล่นที่มีอายุน้อยที่สุดภายในทีม และได้ลงสนามในรายการนี้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ที่ทีมชาติไทยพบกับทีมชาติเวียดนาม ในรอบแบ่งกลุ่ม โดยถูกเปลี่ยนตัวลงมาเล่นแทน ปิยพล บรรเทา ที่มีอาการบาดเจ็บ (จบเกมส์ไทยชนะ 3-1) จากนั้นเขามีโอกาสลงสนามอีกครั้งหนึ่งในนัดชิงชนะเลิศนัดที่ 2 พบกับทีมชาติสิงคโปร์ ชนาธิปมีโอกาสเลี้ยงกระชากหนีนักเตะสิงคโปร์และยิงประตูหนึ่งครั้ง แต่ไม่สำเร็จ และได้รองแชมป์ในที่สุด
พ.ศ. 2556 ได้เล่นในฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 42 ปี พ.ศ. 2556 ที่จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันคือเกาหลีเหนือ, สวีเดน และฟินแลนด์
ในการแข่งขันนัดแรกที่ทีมชาติไทยพบทีมชาติฟินแลนด์ เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556 ที่สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี ชนาธิป ลงเล่นเป็นตัวจริง แต่จบด้วยการแพ้ฟินแลนด์ 1-3 ทำให้ต้องชิงที่ 3 กับเกาหลีเหนือ โดยการแข่งขันนัดชิงที่ 3 ในวันที่ 26 มกราคม ชนาธิปลงเล่นเป็นตัวจริงอีกครั้ง ก่อนจะเสมอกันไป 2-2 คว้าอันดับ 3 ร่วมไปครอง
ในการแข่งขันฟุตบอลเอเชียนคัพ 2015 รอบคัดเลือก ไทยอยู่ร่วมสายกับ อิหร่าน คูเวต และเลบานอน นัดแรก 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ไทยเปิดสนามราชมังคลากีฬาสถาน พบกับ ทีมชาติคูเวต ชนาธิป มีชื่อเป็นตัวสำรองและได้ลงสนามแทน จักรพันธ์ พรใส ในนาทีที่ 72 ถัดจากนั้น 3 นาที ชนาธิปสามารถทำประตูตีไข่แตกได้ และจบเกมส์ไทยเปิดบ้านแพ้คูเวตไป 1-3 โดยประตูดังกล่าวถือว่าประตูแรกของชนาธิป ในการเล่นให้กับทีมชาติชุดใหญ่
ชนาธิป เป็นตัวหลักในยุคของซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง กุนซือที่รับหน้าที่กุนซือขัดตาทัพสำหรับทีมชาติชุดใหญ่แทนวินฟรีด เชเฟอร์ โดยซิโก้ประเดิมคุมทีมชาติชุดใหญ่เมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556 โดยได้นำนักเตะชุดซีเกมส์ 2013ไปอุ่นเครื่องกับทีมชาติจีน และถล่มทีมชาติจีนคาบ้านถึง 5-1 โดยชนาธิปเป็นหนึ่งในผู้ทำประตูด้วย
ในการแข่งขันเอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2014 ชนาธิปเล่นได้อย่างโดดเด่น และเป็นผู้เล่นที่ถูกจับตามองในการแข่งขันครั้งนี้ ในนัดชิงชนะเลิศที่ไทยพบกับ มาเลเซีย ทางมาเลเซียระบุว่าชนาธิปเป็น 1 ใน 3 ผู้เล่นของไทยที่ต้องระวัง (อีก 2 คน คือ กวินทร์ ธรรมสัจจานันท์ และ ชาริล ชับปุยส์) ในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศนัดที่ 2 ที่ไทยเป็นฝ่ายแพ้ไป 3-2 แต่โดยผลการแข่งขันรวมแล้ว ไทยชนะไป 4-3 ชนาธิปเป็นผู้ยิงประตูที่ 2 ให้กับไทยได้ในนาทีที่ 86 จากลูกยิงนอกเขตโทษ ทำให้ไทยได้แชมป์รายการนี้ไปเป็นสมัยที่ 4 และเป็นแชมป์ครั้งแรกในรอบ 12 ปี นอกจากแล้ว ชนาธิป ยังได้รางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมในรายการนี้ไปอีกด้วย

มาวิดีโอการเล่นของ ชนาธิป สรงกระสินธ์